ข้ามไปยังบล็อกหลัก.
:::

แนะนำโครงการแรงงานกึ่งฝีมือ


เพื่อเสริมกำลังแรงงานในภาคการผลิต กระทรวงแรงงานประกาศใช้โครงการแรงงานกึ่งฝีมืออย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2566 ครอบคลุมกิจการประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาคการผลิต โรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ การก่อสร้าง การเกษตรและการดูแลระยะยาวที่ได้รับอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติทั่วไปอยู่แล้ว หากแรงงานต่างชาติสอดคล้องคุณสมบัติ ได้แก่ทำงานในไต้หวันติดต่อกัน 6 ปีขึ้นไปหรือนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาในไต้หวันระดับอนุปริญญาขึ้นไป ได้รับค่าจ้างและมีเงื่อนไขด้านทักษะตามเกณฑ์กำหนด สามารถยกระดับหรือว่าจ้างเป็นแรงงานกึ่งฝีมือได้ทันที โดยไม่ถูกจำกัดระยะเวลาทำงาน ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทักษะฝีมือในการทำงานได้รับการพัฒนาสูงขึ้น นายจ้างไม่ต้องชำระเงินเข้ากองทุนคุ้มครองการทำงานของแรงงานท้องถิ่น และเมื่อทำงานในฐานะแรงงานกึ่งฝีมือครบ 5 ปี ยังสามารถยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ถาวร (APRC) ได้ด้วย


แรงงานกึ่งฝีมือ ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนประกันภัยแรงงาน กองทุนประกันสุขภาพ และยังจะได้รับเงินบำนาญระบบเก่า และไม่กระทบโควตาเดิมของนายจ้าง สามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติคนใหม่มาทำงานทดแทนแรงงานต่างชาติคนเดิมที่ได้รับการยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือแล้ว ช่วยผ่อนคลายภาวะขาดแคลนแรงงานของนายจ้างได้


ข่าวประชาสัมพันธ์: https://www.wda.gov.tw/News_Content.aspx?n=7F220D7E656BE749&sms=E9F640ECE968A7E1&s=B55C7B2F38FFE80D

~
~

หัวข้อ :

คำตอบ: 
เงินเดือนประจำ หมายถึง ค่าตอบแทนการทำงานรายเดือนที่จ่ายให้กับพนักงานที่ได้รับว่าจ้าง นอกเหนือจากค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าน้ำและค่าไฟ โบนัสการทำงานรายเดือนและค่าเบี้ยขยัน แต่ไม่รวมค่าล่วงเวลา 
 

  • วันที่ประกาศ :2023/04/07
  • วันที่อัพเดท :2023/04/07

หัวข้อ :

คำตอบ : 
1. ใช่! ตามกฎหมายมาตรฐานแรงงานกำหนด นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างบางส่วนในรูปของสิ่งของได้ ส่วนมูลค่าและราคาตามที่ตกลงกันในสัญญาแต่ต้องเหมาะสมและเป็นธรรม
2. ตามในระเบียบว่าด้วยการอนุญาตว่าจ้างและบริหารแรงงานต่างชาติกำหนด หากนายจ้างจ่ายค่าจ้างบางส่วนในรูปของสิ่งของ จะต้องให้หลักฐานที่เกี่ยวข้องแก่ลูกจ้างเก็บรักษาไว้ นายจ้างเองก็ต้องเก็บไว้ 1 ชุด ดังนั้น ในสัญญาจ้างจะต้องระบุการจัดที่พักอาหารให้ลูกจ้าง ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง รวมทั้งระบุจำนวนเงินด้วย

  • วันที่ประกาศ :2023/04/07
  • วันที่อัพเดท :2023/04/07

หัวข้อ :

คำตอบ: 
ค่าจ้างรวมหมายถึงค่าตอบแทนการทำงานที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายเดือน ประกอบด้วยค่าจ้างประจำรายเดือน (เงินเดือนพื้นฐานและเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นรายเดือน) ค่าทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างที่ไม่ได้จ่ายเป็นประจำ (เงินโบนัสปลายปี เงินโบนัสตามเทศกาล เงินปันผล และเงินรางวัลผลงานเป็นต้น)

  • วันที่ประกาศ :2023/04/11
  • วันที่อัพเดท :2023/05/30

หัวข้อ :

ไม่ได้ แรงงานข้ามชาติควรทำงานในไต้หวันต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไปเมื่อนายจ้างทำการยื่นขอ ซึ่งหมายถึงได้เป็นไปตามเงื่อนไขคุณสมบัติในเวลาที่ยื่นขอ วันที่กำหนดการจ้างงานควรอยู่ในระยะเวลาของใบอนุญาตจ้างงานเดิมและช้ากว่าวันที่ยื่นขอ และห้ามให้ชาวต่างชาติทำงานสำหรับชาวต่างชาติประเภทที่ 3 ก่อนที่ทางกระทรวงฯ จะอนุมัติออกใบอนุญาตจ้างงานด้านเทคนิคระดับกลางหากนายจ้างเดิมต้องการจ้างงานเป็นกำลังคนด้านเทคนิคระดับกลางในวันถัดไปของวันที่สิ้นสุดระยะเวลาใบอนุญาตจ้างงานเดิม สามารถทำการยื่นขอตามมาตราที่ 43 วรรคที่ 2 ข้อที่ 2 ของกฎหมายฉบับเดียวกัน

  • วันที่ประกาศ :2023/04/11
  • วันที่อัพเดท :2023/04/11

หัวข้อ :

คำตอบ : 
จำนวนแรงงานกึ่งฝีมือที่ยื่นขอได้ ให้ยึดตามหมายเลขการเอาประกันภัยแรงงาน โดยคำนวณจากยอดจำนวนแรงงานเฉลี่ยที่ว่าจ้างในปีก่อนหน้าการยื่นเรื่อง 2 เดือน

  • วันที่ประกาศ :2023/04/11
  • วันที่อัพเดท :2023/04/11

หัวข้อ :

คำตอบ :  

ตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตและบริหารแรงงานต่างชาติมาตรา 43 กำหนด แรงงานต่างชาติที่ทำงานในไต้หวันครบ 11 ปี 6 เดือนขึ้นไปและเดินทางกลับประเทศแล้ว จำกัดนายจ้างเดิมสามารถยื่นขอว่าจ้างให้เดินทางกลับมาทำงานในฐานะแรงงานกึ่งฝีมือได้ แต่หากเป็นญาติลำดับที่ 3 ของนายจ้างหรือผู้ถูกดูแล และผู้ถูกดูแลที่ไม่มีญาติอยู่ในไต้หวันเป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัตินายจ้างที่มีสิทธิ์ว่าจ้างแรงงานต่างชาติตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตว่าจ้างและการบริหารแรงงานต่างชาติมาตราที่ 43 ข้อที่ 5 ก็มีสิทธิ์ว่าจ้างได้เช่นกัน

  • วันที่ประกาศ :2023/04/11
  • วันที่อัพเดท :2024/11/01