ข้ามไปยังบล็อกหลัก.
:::

แนะนำโครงการแรงงานกึ่งฝีมือ


เพื่อเสริมกำลังแรงงานในภาคการผลิต กระทรวงแรงงานประกาศใช้โครงการแรงงานกึ่งฝีมืออย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2566 ครอบคลุมกิจการประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาคการผลิต โรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ การก่อสร้าง การเกษตรและการดูแลระยะยาวที่ได้รับอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติทั่วไปอยู่แล้ว หากแรงงานต่างชาติสอดคล้องคุณสมบัติ ได้แก่ทำงานในไต้หวันติดต่อกัน 6 ปีขึ้นไปหรือนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาในไต้หวันระดับอนุปริญญาขึ้นไป ได้รับค่าจ้างและมีเงื่อนไขด้านทักษะตามเกณฑ์กำหนด สามารถยกระดับหรือว่าจ้างเป็นแรงงานกึ่งฝีมือได้ทันที โดยไม่ถูกจำกัดระยะเวลาทำงาน ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทักษะฝีมือในการทำงานได้รับการพัฒนาสูงขึ้น นายจ้างไม่ต้องชำระเงินเข้ากองทุนคุ้มครองการทำงานของแรงงานท้องถิ่น และเมื่อทำงานในฐานะแรงงานกึ่งฝีมือครบ 5 ปี ยังสามารถยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ถาวร (APRC) ได้ด้วย


แรงงานกึ่งฝีมือ ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนประกันภัยแรงงาน กองทุนประกันสุขภาพ และยังจะได้รับเงินบำนาญระบบเก่า และไม่กระทบโควตาเดิมของนายจ้าง สามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติคนใหม่มาทำงานทดแทนแรงงานต่างชาติคนเดิมที่ได้รับการยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือแล้ว ช่วยผ่อนคลายภาวะขาดแคลนแรงงานของนายจ้างได้


ข่าวประชาสัมพันธ์: https://www.wda.gov.tw/News_Content.aspx?n=7F220D7E656BE749&sms=E9F640ECE968A7E1&s=B55C7B2F38FFE80D

~
~

หัวข้อ :

คำตอบ:
เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนผู้มีความสามารถทางอุตสาหกรรมในประเทศ ในขณะเดียวกัน การรักษาแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะซึ่งเคยทำงานในประเทศของเรามาเป็นระยะเวลาหนึ่งและปลูกฝังนักศึกษาชาวต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือสูงกว่าผ่านสถาบันการปกครองลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ปี 2565 เพื่ออนุมัติ “แผนการรักษาแรงงานข้ามชาติผู้มีความสามารถและทักษาทางเทคนิคในระดับอุดมศึกษา (เรียกสั้นๆ ว่าแผนการรักษาแรงงานข้ามชาติผู้มีความสามารถไว้เป็นเวลานาน) ภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่กระทบต่อสิทธิการจ้างงานและค่าจ้างของคนในประเทศได้กำหนดไว้ในวรรค 11 ข้อ 1 มาตรา 46 ของกฎหมายบริการจัดหางาน: “งานอื่นๆ เนื่องจากขาดลักษณะงานพิเศษในประเทศสำหรับผู้มีความสามารถดังกล่าว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ้างคนต่างชาติมาทำธุรกิจ และหากได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่มีอำนาจกลางแล้ว ให้นายจ้างขอจ้างแรงงานข้ามชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและชาวจีนโพ้นทะเลเพื่อทำงานด้านเทคนิคระดับกลาง
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/25

หัวข้อ :

คำตอบ : ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ นายจ้างสามารถว่าจ้างเป็นแรงงานกึ่งฝีมือได้ :
1. แรงงานต่างชาติที่นายจ้างว่าจ้างตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 46 วรรค 1 ข้อที่ 8-10 และทำงานในไต้หวันต่อเนื่องครบ 6 ปีขึ้นไป หรือทำงานกับนายจ้างรายเดียวกันอายุงานสะสมครบ 6 ปีขึ้นไป
2. แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวัน หากเคยทำงานครบ 6 ปี เดินทางกลับประเทศแล้วกลับเข้ามาทำงานในไต้หวันต่อ อายุงานสะสมครบ 11 ปี 6 เดือนขึ้นไป 
3. แรงงานต่างชาติที่ทำงานสะสมครบ 11 ปี 6 เดือนขึ้นไป และเดินทางกลับประเทศแล้ว
4. นักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในไต้หวัน ระดับอนุปริญญาขึ้นไป

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2024/03/25

หัวข้อ :

คำตอบ: ได้! 
1. แรงงานต่างชาติที่เดินทางกลับประเทศไปแล้ว หากเดินทางกลับมาทำงานในไต้หวันต่อเนื่องกันครบ 6 ปี หรือทำงานกับนายจ้างรายเดียวกันอายุงานสะสมครบ 6 ปีขึ้นไป หรือทำงานในไต้หวันรวมสะสมครบ 11 ปี 6 เดือนขึ้นไป นายจ้างสามารถว่าจ้างเป็นแรงงานต่างชาติได้
2. ส่วนแรงงานต่างชาติที่ทำงานในไต้หวันครบ 11 ปี 6 เดือนขึ้นไปและเดินทางกลับประเทศแล้ว จำกัดนายจ้างเดิมสามารถยื่นขอว่าจ้างให้เดินทางกลับมาทำงานในฐานะแรงงานกึ่งฝีมือได้ แต่หากเป็นญาติลำดับที่ 3 ของนายจ้างหรือผู้ถูกดูแล และผู้ถูกดูแลที่ไม่มีญาติอยู่ในไต้หวันเป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัตินายจ้างที่มีสิทธิ์ว่าจ้างแรงงานต่างชาติตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตว่าจ้างและการบริหารแรงงานต่างชาติมาตราที่ 43 ข้อที่ 5 ก็มีสิทธิ์ว่าจ้างได้เช่นกัน

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2024/03/25

หัวข้อ :

คำตอบ: 
ปัจจุบัน กิจการที่อนุญาตให้ว่าจ้างแรงงานกึ่งฝีมือ ได้แก่ ลูกเรือประมงทะเล ภาคการผลิต โรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ การก่อสร้าง (รวมงานก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ภาครัฐและเอกชนและโครงการก่อสร้างทั่วไป) จ้างเหมาบริการภาคการเกษตร การเกษตร (รวมการเกษตรและอาหาร ป่าไม้ ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงปลา) ผู้อนุบาลในองค์กร ผู้อนุบาลในครัวเรือน ฯลฯ

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/11/28

หัวข้อ :

คำตอบ : กระทรวงแรงงานมีการแก้กฎหมายเมื่อ 15 ต.ค. 66 อนุญาตให้เพิ่มการว่าจ้างแรงงานกึ่งฝีมือสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ป่าไม้ ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงปลา ในอนาคตหากมีกิจการภาคการผลิตที่มีความจำเป็น เมื่อผ่านการรับรองจากหน่วยงานผู้ทรงอำนาจส่วนกลางและได้รับอนุญาตจากกระทรวงแรงงานแล้ว จะมีการทบทวนเปิดให้ว่าจ้างแรงงานกึ่งฝีมือเพิ่มขึ้น

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/11/28

หัวข้อ :

คำตอบ : 
1. ในระหว่างทำงานอยู่ในไต้หวัน หากแรงงานต่างชาติลากลับไปพักร้อนหรือเยี่ยมครอบครัว หรือได้รับผลจากสถานการณ์โควิด-19 หรือเหตุผลอื่น เป็นเหตุให้ติดค้างอยู่ต่างประเทศ หลังปัญหาหมดสิ้นลง ได้เดินทางกลับมาทำงานในไต้หวันต่อ หรือตามกฎหมายการจ้างงานมาตรา 59 วรรค 1 ได้รับอนุญาตให้ย้ายนายจ้างใหม่ได้ ระหว่างรอการโอนย้าย สามารถนับรวมกับอายุงานก่อนหน้านี้ ถือเป็นการทำงานต่อเนื่อง ใช้เป็นเงื่อนไขในการยื่นขอเป็นแรงงานกึ่งฝีมือได้
2. กรณีที่แรงงานต่างชาติทำงานกับนายจ้างรายเดียวกัน อายุงานสะสมเกิน 6 ปี ก็มีสิทธิ์ได้รับการว่าจ้างเป็นแรงงานกึ่งได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี

  • วันที่ประกาศ :2023/03/25
  • วันที่อัพเดท :2024/03/25

หัวข้อ :

คำตอบ: 
ไม่จำกัดจำนวนปี ตามมาตรา 52 แห่งกฎหมายบริการจัดหางาน นายจ้างจ้างแรงงานต่างชาติด้านเทคนิคระดับกลางสูงสุดครั้งละ 3 ปี เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว นายจ้างมีสิทธิ์สมัครใหม่ได้และไม่จำกัดจำนวนแรงงานต่างชาติทั้งหมดเกี่ยวกับจำนวนปีทั้งหมดที่ทำงานในไต้หวัน

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/17

หัวข้อ :

คำตอบ: 
ตามมาตรา 53 และ 59 ของกฎหมายบริการจัดหางาน บุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางต่างประเทศในระหว่างระยะเวลาที่ใบอนุญาตยังมีผล บุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางต่างชาติอาจเปลี่ยนนายจ้างหรืองานได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลที่ไม่ได้มาจากชาวต่างชาติ ขั้นตอนการสมัครเปลี่ยนนายจ้างสำหรับบุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางนั้นเหมือนกับขั้นตอนการเปลี่ยนนายจ้างสำหรับแรงงานต่างชาติในปัจจุบัน 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/31