ข้ามไปยังบล็อกหลัก.
:::

แนะนำโครงการแรงงานกึ่งฝีมือ


เพื่อเสริมกำลังแรงงานในภาคการผลิต กระทรวงแรงงานประกาศใช้โครงการแรงงานกึ่งฝีมืออย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2566 ครอบคลุมกิจการประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาคการผลิต โรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ การก่อสร้าง การเกษตรและการดูแลระยะยาวที่ได้รับอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติทั่วไปอยู่แล้ว หากแรงงานต่างชาติสอดคล้องคุณสมบัติ ได้แก่ทำงานในไต้หวันติดต่อกัน 6 ปีขึ้นไปหรือนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาในไต้หวันระดับอนุปริญญาขึ้นไป ได้รับค่าจ้างและมีเงื่อนไขด้านทักษะตามเกณฑ์กำหนด สามารถยกระดับหรือว่าจ้างเป็นแรงงานกึ่งฝีมือได้ทันที โดยไม่ถูกจำกัดระยะเวลาทำงาน ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทักษะฝีมือในการทำงานได้รับการพัฒนาสูงขึ้น นายจ้างไม่ต้องชำระเงินเข้ากองทุนคุ้มครองการทำงานของแรงงานท้องถิ่น และเมื่อทำงานในฐานะแรงงานกึ่งฝีมือครบ 5 ปี ยังสามารถยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ถาวร (APRC) ได้ด้วย


แรงงานกึ่งฝีมือ ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนประกันภัยแรงงาน กองทุนประกันสุขภาพ และยังจะได้รับเงินบำนาญระบบเก่า และไม่กระทบโควตาเดิมของนายจ้าง สามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติคนใหม่มาทำงานทดแทนแรงงานต่างชาติคนเดิมที่ได้รับการยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือแล้ว ช่วยผ่อนคลายภาวะขาดแคลนแรงงานของนายจ้างได้


ข่าวประชาสัมพันธ์: https://www.wda.gov.tw/News_Content.aspx?n=7F220D7E656BE749&sms=E9F640ECE968A7E1&s=B55C7B2F38FFE80D

~
~

หัวข้อ :

คำตอบ :
ปัจจุบันยังไม่มีตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงานกึ่งฝีมือ แนะนำให้ใช้สัญญาจ้างแรงงานต่างชาติทั่วไปมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดรายละเอียดของสัญญาจ้างโดยต้องได้รับการยินยอมจากฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
 

  • วันที่ประกาศ :2023/03/30
  • วันที่อัพเดท :2023/03/30

หัวข้อ :

คำตอบ :
ผู้อนุบาลในครัวเรือนไม่ได้อยู่ในการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานแรงงาน วันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้อนุบาลในครัวเรือนเป็นไปตามที่ระบุในสัญญาจ้างที่มีการตกลงและลงนามร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
 

  • วันที่ประกาศ :2023/03/28
  • วันที่อัพเดท :2023/03/29

หัวข้อ :

คำตอบ: 
ไม่ได้ นายจ้างที่จ้างแรงงานด้านเทคนิคระดับกลางไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหลักประกันการจ้างงาน 
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/17

หัวข้อ :

คำตอบ :
(1) การว่าจ้างแรงงานกึ่งฝีมือจากต่างประเทศ : ต้องเข้ารับการตรวจโรคภายในเวลา 3 วันทำงานนับจากวันเดินทางเข้าสู่ไต้หวัน และก่อนหรือหลัง 30 วันหลังจากใบอนุญาตทำงานมีผลบังคับใช้ครบเดือนที่ 6, 18 และ 30
(2) แรงงานต่างชาติที่ได้รับการยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือในไต้หวัน : 
1. ขณะยื่นขอว่าจ้าง นายจ้างจะต้องแนบใบรับรองผ่านการตรวจโรคชาวต่างชาติประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ 3 ที่มีผลใน 3 เดือนจากโรงพยาบาลที่เจาะจง (รวมใบรับรองผ่านการตรวจโรคครั้งแรกที่ตรวจภายในเวลา 3 วันนับจากวันเดินทางถึงและการตรวจโรคประจำตามกำหนดเวลาหรือการตรวจโรคเสริมกรณีย้ายนายจ้าง) นอกจากนี้ นายจ้างที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกฎระเบียบการอนุญาตว่าจ้างและการบริหารแรงงานต่างชาติมาตราที่ 43 วรรค 1 ข้อที่ 1และข้อที่ 2 นายจ้างจะต้องแนบใบรับรองผ่านการตรวจโรคที่ตรวจภายในเวลา 1 ปีก่อนใบอนุญาตว่าจ้างแรงงานกึ่งฝีมือจะมีผล มิเช่นนั้น นายจ้างจะต้องจัดให้แรงงานกึ่งฝีมือที่ว่าจ้างเข้ารับการตรวจโรคในโรงพยาบาลตามที่เจาะจงภายในเวลา 7 วัน นับจากวันรุ่งขึ้นของใบอนุญาตว่าจ้างมีผล
2. นายจ้างต้องจัดให้แรงงานกึ่งฝีมือเข้ารับการตรวจโรคก่อนหรือหลัง 30 วันหลังใบอนุญาตทำงานมีผลบังคับใช้ครบเดือนที่ 6, 18 และ 30
                   

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2024/04/23

หัวข้อ :

คำตอบ: 
1) ชาวต่างชาติที่อยู่ในการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานแรงงาน กรณีที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย (อาทิ คู่สมรสต่างชาติ และชาวต่างชาติที่ถือบัตรถิ่นที่อยู่ถาวร) ที่บังคับให้หักเงินเดือนส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเพื่อสะสมเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณอายุ (ระบบบำนาญแบบใหม่)  ยังคงต้องใช้ระบบบำนาญตามที่ระบุในกฎหมายมาตรฐานแรงงาน (ระบบบำนาญแบบเก่า)
2) ตามประกาศคณะกรรมการการแรงงาน (ปัจจุบันคือกระทรวงแรงงาน) ฉบับที่ 4 -0950109148 ลงวันที่ 15 ธ.ค.2549 กำหนด แรงงานต่างชาติที่ถูกว่าจ้างตามกฎหมายการจ้างงานมาตรา 46 วรรค 1 ข้อ 8 -10 ( แรงงานประมงและแรงงานในครัวเรือน)  อนุญาตให้ไม่ต้องนำค่าจ้างของแรงงานต่างชาติเหล่านี้มารวมเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนประจำ มีเพียงแรงงานกึ่งฝีมือที่ถูกว่าจ้างตามกฎหมายการจ้างงานมาตรา 46 วรรค 1 ข้อ 11 ไม่อยู่ขอบเขตการบังคับใช้ของประกาศข้างต้น
3) สรุปคือ หลังแรงงานต่างชาติยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือแล้ว ตามกฎหมายมาตรฐานแรงงานมาตรา 56 กำหนดให้นายจ้างต้องเปิดบัญชีเงินฝากส่วนบุคคลให้แก่แรงงานกึ่งฝีมือเพื่อเป็นกองทุนบำนาญ และต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนในอัตรา 2%-15% ของเงินเดือนแรงงานกึ่งฝีมือ สำหรับขั้นตอนการยื่นขอจัดตั้งบัญชีเงินฝากส่วนบุคคลเพื่อเป็นกองทุนบำนาญและเอกสารที่ต้องแสดง กรุณาติดต่อสอบถามหน่วยงานด้านแรงงานในท้องที่ (กองแรงงานหรือกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองหรือนครต่างๆ)
 

  • วันที่ประกาศ :2023/03/30
  • วันที่อัพเดท :2023/03/30

หัวข้อ :

คำตอบ :
1) ตามกฎหมายมาตรฐานแรงงาน มาตรา 53 กำหนด แรงงานที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเงื่อนไขการยื่นขอเกษียณอายุก่อนกำหนด (อายุครบ 55 ปีและทำงานในสถานประกอบการเดียวกันตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป หรือมีอายุงานตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป หรืออายุครบ 60 ปีและมีอายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป)
กรณีแรงงานเป็นผู้ยื่นขอเกษียณอายุหรือนายจ้างบังคับให้เกษียณอายุโดยอ้างตามกฎหมายมาตรฐานแรงงาน มาตรา 54 นายจ้างต้องจ่ายเงินบำนาญให้แก่แรงงานโดยยึดตามกฎหมายฉบับเดียวกัน มาตรา 55 ที่กำหนดให้ต้องจ่ายเงินบำนาญตามอายุงานปีละ 2 เดือนสำหรับอายุงานที่ไม่เกิน 15 ปี ส่วนที่เกินให้จ่ายปีละ 1 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 45 เดือน อายุงานไม่ถึงครึ่งปีให้คิดเป็นครึ่งปี อายุงานเกินครึ่งปีให้คิดเป็น 1 ปี
2) ตามกฎหมายมาตรฐานแรงงาน มาตรา 57 และมาตรา 5 กำหนด การคำนวณอายุงานให้เริ่มนับจากวันที่แรงงานได้รับการว่าจ้างและต้องทำงานในสถานประกอบการเดียวกัน ดังนั้นแรงงานต่างชาติที่เดิมได้รับการว่าจ้างตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 46 วรรค 1 ข้อ 8-10 ต่อมาได้รับการยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 46 วรรค 1 ข้อ 11 กรณียุติสัญญาจ้าง อายุงานต้องนับจากวันที่ได้รับการว่าจ้างเป็นต้นไป และการตัดสินว่าสัญญาจ้างต่อเนื่องกันหรือไม่ ต้องดูจากสภาพการณ์นายจ้างและลูกจ้าง หากมีคุณสมบัติในการเกษียณอายุ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินบำนาญแก่ลูกจ้างตามกฎหมายมาตรฐานแรงงาน มาตราที่ 55
3) นายจ้างสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการคำนวณเงินบำนาญแรงงานกึ่งฝีมือได้จากตารางคำนวณระบบบำนาญแบบเก่าได้ที่เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน (https://gov.tw/yti)

  • วันที่ประกาศ :2023/03/28
  • วันที่อัพเดท :2024/03/26

หัวข้อ :

คำตอบ :
1) นายจ้างต้องยื่นขอจัดตั้งกองทุนบำนาญต่อคณะกรรมการตรวจสอบด้านการเงินของกองแรงงานในเมืองที่เป็นสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ จากนั้นกองแรงงานจะส่งเรื่องไปยังธนาคารไต้หวัน (Bank of Taiwan) เพื่อดำเนินการเปิดบัญชีและแจ้งต่อกรมสรรพากรด้วย
2) จำนวนเงินที่สถานประกอบการต้องจ่ายเข้ากองทุนบำนาญ (จ่ายเป็นรายเดือนในอัตรา 2%~15% ของเงินเดือน) ต้องผ่านการอนุมัติจากกองแรงงานก่อน เมื่อนายจ้างได้รับหนังสืออนุมัติแล้ว สามารถไปชำระเงินที่ธนาคารได้
3) หากมีข้อสงสัย สามารถดูข้อมูลได้จาก https://pse.is/4hnsp6

 

  • วันที่ประกาศ :2023/03/28
  • วันที่อัพเดท :2023/03/29

หัวข้อ :

คำตอบ: 
หากจำเป็น ตามมาตรา 46 ของการอนุญาตการจ้างงานชาวต่างชาติของนายจ้างและมาตรการจัดการ ให้นายจ้างเริ่มตั้งแต่วันที่บุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางเข้ามาในประเทศหรือวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่จ้างงาน ความสัมพันธ์ของบุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางสิ้นสุดลงหรือออกจากประเทศ นายจ้างใหม่ยังคงจ้างงานต่อไป "
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/04/21

หัวข้อ :

คำตอบ: 
หากจำเป็น ตามข้อกำหนดในมาตรา 60 แห่งการอนุญาตให้นายจ้างจ้างชาวต่างชาติและระเบียบการจัดการ นายจ้างว่าจ้างชาวต่างชาติให้ทำงานพยาบาลในสถาบันตามที่ระบุในวรรค 9 ข้อ 1 มาตรา 46 แห่งกฎหมายบริการจัดหางาน งานที่ระบุ ในวรรค 10 และมาตรา 46 แห่งกฎหมายบริการจัดหางาน หากมีงานด้านเทคนิคระดับกลางเกิน 10 ตำแหน่งตามที่ระบุในวรรค 11 ให้จัดตั้งบริการช่วยชีวิตตามระเบียบ"
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/15

หัวข้อ :

คำตอบ: 
หากจำเป็น ตามมาตรา 33 และ 47 ของการอนุญาตการจ้างงานชาวต่างชาติของนายจ้างและมาตรการจัดการ หากนายจ้างเปลี่ยนสถานที่พักอาศัยของบุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นของสถานที่พักและชาวต่างชาติทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 7 วันหลังจากการเปลี่ยนแปลง"
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/15

หัวข้อ :

คำตอบ: 
หากจำเป็น นายจ้างที่จ้างบุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางควรปฏิบัติตามมาตรฐานดุลยพินิจที่กำหนดไว้ในแผนบริการดูแลที่อยู่อาศัยสำหรับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างไม่ได้วางแผนที่พักของบุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางตามระเบียบ ทางเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการตรวจสอบตามเกณฑ์ดุลยพินิจของแผนบริการดูแลที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติและจะไปเยี่ยมเยียนบุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางเพื่อค้นหาความหมายที่แท้จริงของพวกเขา"
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/15

หัวข้อ :

คำตอบ: 

(1) ตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตว่าจ้างและการบริหารแรงงานต่างชาติ มาตรา 47 กำหนด หากนายจ้างจะเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของแรงงานกึ่งฝีมือ ต้องแจ้งหน่วยงานท้องที่ที่เกี่ยวข้องที่แรงงานกึ่งฝีมือนั้นพำนักอาศัยหรือทำงานอยู่ภายในเวลา 7 วัน นับแต่มีการเปลี่ยนที่อยู่ โดยแนบใบแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ แผนบริหารดูแลแรงงานต่างชาติและรายชื่อซึ่งระบุสถานที่พำนักของแรงงานกึ่งฝีมือหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว
(2) ตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตว่าจ้างและการบริหารแรงงานต่างชาติ มาตรา 33 กำหนด หน่วยงานท้องที่ที่เกี่ยวข้องหลังจากได้รับแจ้งจากนายจ้างแล้ว จะต้องเดินทางไปตรวจเยี่ยมแรงงานกึ่งฝีมือรายนั้น เพื่อตรวจดูความสมัครใจ

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2024/03/26

หัวข้อ :

คำตอบ: 
หากจำเป็น ตาม 56 ของกฎหมายบริการจัดหางาน หากชาวต่างชาติที่ได้รับการว่าจ้างขาดการติดต่อหลังจากขาดงานติดต่อกัน 3 วันหรือยุติความสัมพันธ์ในการจ้างงาน นายจ้างต้องแจ้งให้ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสำนักงานตำรวจภายใน 3 วันเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม หากชาวต่างชาติที่ได้รับการว่าจ้างขาดงานและขาดการติดต่อ นายจ้างอาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสำนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการสอบสวน นอกจากนี้ ตามข้อกำหนดในมาตรา 68 ของการอนุญาตการจ้างงานชาวต่างชาติของนายจ้างและมาตรการจัดการ หากมีพฤติการณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 56 ของกฎหมายบริการจัดหางานสำหรับชาวต่างชาติที่ได้รับการจ้างงาน ให้แจ้งหน่วยงานที่มีอำนาจจัดการตรวจคนเข้าเมืองและสำนักงานตำรวจและสำเนาใบแจ้งเพื่อกระทรวงทราบ 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2024/03/26

หัวข้อ :

ไม่ได้ นายจ้างสามารถใช้โควตาดังกล่าวต่อได้ เช่น : แรงงานดูแลพยาบาลในครอบครัวด้านเทคนิคระดับกลางได้เกิดเหตุการณ์หายตัวไป นายจ้างสามารถใช้โควตาดังกล่าวต่อได้

  • วันที่ประกาศ :2022/07/13
  • วันที่อัพเดท :2023/03/15

หัวข้อ :

คำตอบ: 
กฎสำหรับการกลับบ้านในวันหยุดสำหรับชาวต่างชาติที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานตามที่ระบุในวรรค 8 ถึง 10 ข้อ 1 ของมาตรา 46 ของกฎหมายบริการจัดหางานใช้ไม่ได้อย่างไรก็ตาม บุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางมีสิทธิที่จะกำหนดเวลาพักร้อนพิเศษเมื่อได้รับวันหยุดพักผ่อนพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานแรงงานหรือสัญญาจ้างงานภายในระยะเวลาที่มีผลบังคับของใบอนุญาตการจ้างงาน "
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2023/03/17