ข้ามไปยังบล็อกหลัก.
:::

แนะนำโครงการแรงงานกึ่งฝีมือ


เพื่อเสริมกำลังแรงงานในภาคการผลิต กระทรวงแรงงานประกาศใช้โครงการแรงงานกึ่งฝีมืออย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2566 ครอบคลุมกิจการประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาคการผลิต โรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ การก่อสร้าง การเกษตรและการดูแลระยะยาวที่ได้รับอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติทั่วไปอยู่แล้ว หากแรงงานต่างชาติสอดคล้องคุณสมบัติ ได้แก่ทำงานในไต้หวันติดต่อกัน 6 ปีขึ้นไปหรือนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาในไต้หวันระดับอนุปริญญาขึ้นไป ได้รับค่าจ้างและมีเงื่อนไขด้านทักษะตามเกณฑ์กำหนด สามารถยกระดับหรือว่าจ้างเป็นแรงงานกึ่งฝีมือได้ทันที โดยไม่ถูกจำกัดระยะเวลาทำงาน ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทักษะฝีมือในการทำงานได้รับการพัฒนาสูงขึ้น นายจ้างไม่ต้องชำระเงินเข้ากองทุนคุ้มครองการทำงานของแรงงานท้องถิ่น และเมื่อทำงานในฐานะแรงงานกึ่งฝีมือครบ 5 ปี ยังสามารถยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ถาวร (APRC) ได้ด้วย


แรงงานกึ่งฝีมือ ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนประกันภัยแรงงาน กองทุนประกันสุขภาพ และยังจะได้รับเงินบำนาญระบบเก่า และไม่กระทบโควตาเดิมของนายจ้าง สามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติคนใหม่มาทำงานทดแทนแรงงานต่างชาติคนเดิมที่ได้รับการยกระดับเป็นแรงงานกึ่งฝีมือแล้ว ช่วยผ่อนคลายภาวะขาดแคลนแรงงานของนายจ้างได้


ข่าวประชาสัมพันธ์: https://www.wda.gov.tw/News_Content.aspx?n=7F220D7E656BE749&sms=E9F640ECE968A7E1&s=B55C7B2F38FFE80D

~
~

หัวข้อ :

ตามมาตรา 47 และ 48 ของกฎหมายบริการจัดหางาน ให้นายจ้างที่จ้างชาวต่างชาติมาปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในวรรค 11 ข้อ 1 มาตรา 46 ของกฎหมายบริการจัดหางาน รวมถึงการจ้างชาวต่างชาติมาทำงานด้านเทคนิคระดับกลาง อันดับแรกคือต้องจัดการรับสมัครแรงงานในประเทศตามเงื่อนไขแรงงานอย่างสมเหตุสมผล เมื่อการรับสมัครไม่เป็นไปตามความต้องการ นายจ้างต้องยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องและขออนุญาตจากกระทรวงแรงงาน 
บุคลากรด้านเทคนิคระดับกลางต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงานได้ทำงานตามที่ระบุไว้ในวรรค 11 ข้อ 1 มาตรา 46 ของกฎหมายบริการจัดหางาน: "อื่นๆ เนื่องจากลักษณะพิเศษของงาน ขาดผู้มีความสามารถพิเศษดังกล่าวในประเทศและมีความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างชาติมาทำงาน ถ้าจำเป็น งานต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจส่วนกลาง”

1. ผังงานการสรรหาผู้มีความสามารถพิเศษในประเทศ 
 

  • วันที่ประกาศ :2022/07/05
  • วันที่อัพเดท :2022/07/06