ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป สามารถดำเนินกระบวนการยื่นขออนุญาตจากกระทรวงแรงงานได้ใหม่ เพื่อโอนย้ายนายจ้างเมื่อสัญญาครบกำหนด, ต่อสัญญาจ้างเมื่อสัญญาครบกำหนด, ย้ายนายจ้างทั่วไป หรือโอนย้ายระหว่างสัญญาทั่วไป ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์การโอนย้ายนายจ้างและกฎหมายการอนุญาตว่าจ้างและบริหารแรงงานต่างชาติ (ต่อไปนี้เรียกว่า กฎหมายฉบับนี้)
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
แรงงานต่างชาติหรือนายจ้างประเภทนี้ สามารถดำเนินการยื่นขออนุญาตให้โอนย้ายนายจ้างได้ นับถัดจากวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ภายในระยะเวลา 60 วัน หากไม่ยื่นขอภายในระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นขอเพิ่มเติมในภายหลังได้ไม่เกิน 15 วัน ถัดจากระยะเวลาที่กล่าวข้างต้น โดยจำกัดเพียง 1 ครั้งเท่านั้น และหลังจากกระทรวงแรงงานส่งจดหมายอนุมัติให้โอนย้ายนายจ้างแล้ว จะต้องดำเนินการลงทะเบียนเปลี่ยนนายจ้างที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐ ภายในระยะเวลา 14 วัน
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
เข้าไปที่ระบบยื่นขออนุญาตทางออนไลน์ของกระทรวงแรงงาน ใช้วิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยเพิ่มเติมเอกสาร PCR คลิกที่แท็บ อัปโหลดเอกสารที่จัดเตรียม และเลือกเมนู “อื่นๆ” ที่อยู่ด้านล่างสุด จากนั้นอัปโหลดไฟล์ใบรับรองผลตรวจ PCR ที่สแกนไว้ กระทรวงแรงงานจะขึ้นคำเตือนในระบบยื่นขออนุญาตทางออนไลน์รายการยื่นขออนุญาตรับโอนย้ายระหว่างสัญญา นายจ้างหรือบริษัทจัดหางานจะต้องอัปโหลดแนบใบรับรองผลตรวจ PCR
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
หากนายจ้างมอบหมายให้บริษัทจัดหางานจัดการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานต่างชาติ แล้วไม่ดำเนินการแทนนายจ้างในการจัดให้แรงงานต่างชาติตรวจ PCR ก่อนวันที่โอนย้ายระหว่างสัญญา (หรือโอนย้ายหลังครบกำหนดสัญญา) 3 วัน หรือถ้าสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่ทำงานไม่เปิดให้บริการตรวจเนื่องจากตรงกับวันหยุดหรือจำนวนโควตาผู้เข้าตรวจเต็ม แล้วไม่ดำเนินการตรวจ PCR หลังจากวันที่รับโอนย้าย (รวมถึงโอนย้ายหลังครบกำหนดสัญญา) ต่อไปภายใน 3 วัน (รวมวันนั้นด้วย) หรือไม่จัดหาห้องพัก 1 คน ต่อ 1 ห้องให้ ถือว่าบริษัทจัดหางานไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี เป็นเหตุให้นายจ้างฝ่าฝืนกฎหมาย เท่ากับบริษัทจัดหางานฝ่าฝืนกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 40 วรรค 1 อนุมาตรา 15 มีโทษปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 เหรียญไต้หวัน
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
หากดำเนินการตรวจ PCR ล่าช้า โดยวันสุดท้ายตรงกับวันหยุด และสถานพยาบาลประจำท้องถิ่นไม่มีการตรวจ PCR หรือไม่สามารถรับบัตรคิวนัดหมายได้ สามารถขยายเวลาออกไปได้อีก 1 วันทำการ ตัวอย่างเช่น นายจ้างใหม่รับโอนย้ายแรงงานต่างชาติในวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม ในวันนั้นโรงพยาบาลในละแวกใกล้เคียงมีคิวนัดหมายตรวจ PCR เต็มโควตาแล้ว วันเสาร์และวันอาทิตย์ไม่มีบริการตรวจ PCR ซึ่งเดิมนายจ้างควรจะดำเนินการให้ตรวจ PCR ในวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม แต่โรงพยาบาลไม่มีการตรวจ PCR หรือไม่สามารถรับบัตรคิวนัดหมายตรวจ PCR อย่างช้าที่สุดนายจ้างใหม่จะต้องดำเนินการให้ตรวจ PCR ในวันที่ 19 กรกฎาคม (วันทำการวันถัดไป)
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
ตามกฎระเบียบในหนังสือตีความกระทรวงแรงงาน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป นายจ้างในภาคครัวเรือนที่รับโอนย้ายแรงงานต่างชาติ (รวมถึงโอนย้ายหลังครบกำหนดสัญญา) จะต้องดำเนินการให้แรงงานต่างชาติตรวจ PCR ก่อน 3 วันที่รับโอนย้ายต่อไป (รวมวันนั้นด้วย) หรือถ้าสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่ทำงานไม่เปิดให้บริการตรวจเนื่องจากตรงกับวันหยุดหรือจำนวนโควตาผู้เข้าตรวจเต็ม สามารถดำเนินการตรวจ PCR หลังจากวันที่รับโอนย้าย (รวมถึงโอนย้ายหลังครบกำหนดสัญญา) ต่อไปภายใน 3 วัน (รวมวันนั้นด้วย)
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
1. นายจ้างใหม่ที่ไม่ดำเนินการให้แรงงานต่างชาติตรวจ PCR ก่อนวันที่โอนย้ายระหว่างสัญญา 3 วัน (รวมวันนั้นด้วย) หรือถ้าสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่ทำงานไม่เปิดให้บริการตรวจเนื่องจากตรงกับวันหยุดหรือจำนวนโควตาผู้เข้าตรวจเต็ม หากไม่ดำเนินการตรวจ PCR นับจากวันที่รับโอนย้ายต่อไปภายใน 3 วัน (รวมวันนั้นด้วย) ถือว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดี เท่ากับฝ่าฝืนกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 57 อนุมาตรา 9 มีโทษปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 เหรียญไต้หวัน และจะไม่อนุมัติให้รับโอนย้ายแรงงานต่างชาติระหว่างสัญญา 2. นายจ้างใหม่ที่ไม่ดำเนินการให้แรงงานต่างชาติตรวจ PCR ก่อนวันที่รายงานตัวโอนย้ายหลังครบกำหนดสัญญา 3 วัน (รวมวันนั้นด้วย) หรือถ้าสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่ทำงานไม่เปิดให้บริการตรวจเนื่องจากตรงกับวันหยุดหรือจำนวนโควตาผู้เข้าตรวจเต็ม หากไม่ดำเนินการตรวจ PCR นับจากวันที่รับโอนย้ายต่อไปภายใน 3 วัน (รวมวันนั้นด้วย) หรือระหว่างรอผลตรวจ PCR ไม่จัดหาที่พัก 1 คน ต่อ 1 ห้องให้ ถือว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดี เท่ากับฝ่าฝืนกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 57 อนุมาตรา 9 มีโทษปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 เหรียญไต้หวัน และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 123 เพิกถอนใบอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติของนายจ้างใหม่ที่อนุมัติไว้ล่วงหน้าแล้ว
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการตรวจ PCR ระหว่างรอผลการตรวจ PCR ให้ความร่วมมือในการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ดูแลเอาใจใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย หากมีอาการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งต่อนายจ้าง
- วันที่ประกาศ :2021/08/12
- วันที่อัพเดท :2021/08/15
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป สามารถดำเนินกระบวนการยื่นขออนุญาตจากกระทรวงแรงงานได้ใหม่ เพื่อโอนย้ายนายจ้างเมื่อสัญญาครบกำหนด, ต่อสัญญาจ้างเมื่อสัญญาครบกำหนด, ย้ายนายจ้างทั่วไป หรือโอนย้ายระหว่างสัญญาทั่วไป ตามกฎหมายหลักเกณฑ์การโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานของชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพตามมาตรา 46 วรรค 1 อนุมาตรา 8 ถึง อนุมาตรา 11 ของกฎหมายการจ้างงาน (ต่อไปนี้เรียกว่า หลักเกณฑ์การโอนย้ายนายจ้าง) และกฎหมายระเบียบวิธีปฏิบัติการอนุญาตและบริหารจัดการจ้างงานชาวต่างชาติ (ต่อไปนี้เรียกว่า ระเบียบวิธีปฏิบัติ)
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
แรงงานต่างชาติหรือนายจ้างประเภทนี้ สามารถดำเนินการยื่นขออนุญาตให้โอนย้ายนายจ้างได้ นับถัดจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ภายในระยะเวลา 60 วัน หากไม่ยื่นขอภายในระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นขอเพิ่มเติมในภายหลังได้ไม่เกิน 15 วัน ถัดจากระยะเวลาที่กล่าวข้างต้น โดยจำกัดเพียง 1 ครั้งเท่านั้น และหลังจากกระทรวงแรงงานส่งจดหมายอนุมัติให้โอนย้ายนายจ้างแล้ว จะต้องดำเนินการลงทะเบียนเปลี่ยนนายจ้างที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐ ภายในระยะเวลา 14 วัน
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
การระงับการตกลงโอนย้ายนายจ้างขึ้นอยู่กับ "วันที่ตกลง" เป็นหลัก การตกลงโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาก่อนวันที่ 5 มิถุนายน 2564 (รวมวันที่ 5) ไม่อยู่ข่ายที่ต้องชะลอการโอนย้ายนายจ้าง เทศบาลท้องถิ่นยังคงสามารถรับแจ้งรายงานการดำเนินการโอนย้ายนายจ้างได้
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
นายจ้างและแรงงานต่างชาติผู้ยื่นขอตกลงที่จะโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาหลังวันที่ 6 มิถุนายน 2564 (รวมวันที่ 6) กระทรวงแรงงานจะไม่อนุญาตให้โอนย้ายนายจ้าง หากนายจ้างใหม่ยังคงเป็นผู้ตกลงจะโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาหลังวันที่ 6 มิถุนายน 2564 (รวมวันที่ 6) นายจ้างใหม่มีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะนายจ้าง แต่แรงงานต่างชาติที่ได้รับการยกเว้นตามจดหมายประกาศกระทรวงแรงงานวันที่ 7 มิถุนายน 2564 และผู้อนุบาลต่างชาติในภาคครัวเรือนและผู้ช่วยงานบ้านต่างชาติในภาคครัวเรือน สามารถกลับมาดำเนินกระบวนการโอนย้ายนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ไม่ถูกจำกัดในกรณีนี้ ส่วนคำขอตกลงที่จะโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาของนายจ้างใหม่ทั้งหมดจะไม่ได้รับอนุญาตหลังจากนี้ ต้องชะลอการโอนย้ายนายจ้างชั่วคราวทั้งหมด ยกเว้นแรงงานต่างชาติที่เข้าข้อยกเว้นตามจดหมายประกาศกระทรวงแรงงานวันที่ 7 มิถุนายน 2564
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
นายแจ้งและแรงงานต่างชาติผู้ตกลงโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาหลังวันที่ 6 มิถุนายน 2564 (รวมวันที่ 6) แรงงานต่างชาติและนายจ้างเดิมเกิดข้อพิพาทแรงงานกันขึ้น การยื่นคำขอของนายจ้างใหม่จะถูกระงับการดำเนินการชั่วคราว ผู้ที่ยื่นคำขอไปแล้ว กระทรวงแรงงานจะไม่อนุมัติให้โอนย้ายนายจ้าง และไม่ออกใบอนุญาตการโอนย้ายนายจ้างให้ หากนายจ้างใหม่ยังคงเป็นผู้ตกลงจะโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาหลังวันที่ 6 มิถุนายน 2564 (รวมวันที่ 6) นายจ้างใหม่มีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะนายจ้าง แต่แรงงานต่างชาติที่ได้รับการยกเว้นตามจดหมายประกาศกระทรวงแรงงานวันที่ 7 มิถุนายน 2564 แต่แรงงานต่างชาติที่เข้าข้อยกเว้นตามจดหมายประกาศกระทรวงแรงงานวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ไม่ถูกจำกัดในกรณีนี้ ส่วนคำขอตกลงที่จะโอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาของนายจ้างใหม่ทั้งหมดจะไม่ได้รับอนุญาตหลังจากนี้ ต้องชะลอการโอนย้ายนายจ้างชั่วคราวทั้งหมด ยกเว้นแรงงานต่างชาติที่เข้าข้อยกเว้นตามจดหมายประกาศกระทรวงแรงงานวันที่ 7 มิถุนายน 2564
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
1. การยื่นคำขอโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานถูกระงับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ผู้ที่ยื่นคำขอไปแล้วจะไม่ได้รับการอนุมัติ แต่ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ผู้อนุบาลต่างชาติในภาคครัวเรือนและผู้ช่วยงานบ้านต่างชาติในภาคครัวเรือน สามารถกลับมาดำเนินกระบวนการโอนย้ายนายจ้างได้ 2. แรงงานต่างชาติและนายจ้างที่มิได้ยื่นคำขอต่อกระทรวงแรงงานเพื่อโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงาน หากกระทรวงแรงงานไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตการจ้างงาน ระยะเวลาการจ้างงานยังคงมีผล แรงงานต่างชาติสามารถทำงานให้นายจ้างต่อไปได้ หากเป็นผู้ที่ข้อยกเว้นตามจดหมายประกาศกระทรวงแรงงานวันที่ 7 มิถุนายน 2564 สามารถยื่นคำขอต่อกระทรวงแรงงานเพื่อโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานได้
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
หากแรงงานต่างชาติไม่ได้รับการยกเว้นให้สามารถตกลงโอนย้ายนายจ้างได้ตามคำอธิบายจดหมายประกาศกระทรวงแรงงาน วันที่ 7 มิถุนายน 2564 กระทรวงแรงงานจะไม่อนุญาตให้นายจ้างใหม่ตกลงรับโอนย้าย และนายจ้างใหม่มีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะนายจ้างของแรงงานต่างชาติ หลังจากไม่ได้รับอนุญาตให้ตกลงโอนย้ายนายจ้างแล้ว จากคำอธิบายจดหมายประกาศกระทรวงแรงงาน วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ตามหลักการแล้ว คือไม่อนุมัติให้โอนย้าย
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13