跳到主要內容區塊
:::

活動快報

起始活動日期:2019/10/25
發佈日期:2019/10/25類別:最新訊息
活動訊息:หลักการจัดการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ระหว่างช่วงสัญญาว่าจ้างและสิทธิในการทำงานของแรงงานข้ามชาติหลังตั้งครรถ์

內容:

เอกสาร กระทรวงแรงงาน ที่อยู่:ชั้น 4 ตึกหนานโต้ง เลขที่ 439 ถนนจงผิง เขตซินจวง นครซินเป่ย รหัสไปรษณีย์ 24219 เจ้าหน้าที่: ฮวงฮุ่ยฉาย โทรศัพท์: 02-8995-6185 โทรสาร: 02-8995-6198 E-mail:L7200016@wda.gov.tw วันออกเอกสาร: วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2562 หมายเลขสาร: สารแรงงานเลขที่ 1080507452 ระดับเร่งด่วน: ธรรมดา ระดับความลับและเงื่อนไขการถอดรหัสอื่น ๆ หรือระยะเวลาในการรักษาความลับ: เอกสารแนบท้าย: ดังหัวข้อ หัวข้อ: หลักการจัดการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ระหว่างช่วงสัญญาว่าจ้างและสิทธิในการทำงานของแรงงานข้ามชาติกรณีหลังตั้งครรถ์ กรุณาตรวจสอบ ชี้แจง: 1. ตามจดหมายสารของทำเนียบประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2562 เลขที่สาร 10800079990 โดยได้ดำเนินการส่งเมื่อวันที่.19 กรกฎาคม พ.ศ.2562 คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนของทำเนียบประธานาธิบดี โดยทางคณะกรรมการได้มีมติในที่การประชุมครั้งที่ 36 ให้ปฏิบัติตาม 2. บทบัญญัติกฎระเบียบ : (1) กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศเกี่ยวกับการทำงานมาตรา 11 กำหนดว่า นายจ้างไม่ควรทำการปลดเกษียณ ยกเลิกการว่าจ้าง การออกจากงานและการไล่ออกจากงานต่อผู้ว่าจ้าง ห้ามมีความแตกต่างในการปฏิบัติอันเนื่องมาจากเพศหรือรสนิยมทางเพศ กฎระเบียบการทำงาน สัญญาการว่าจ้างแรงงานหรือสัญญาข้อตกลงกลุ่ม ไม่ควรกำหนดหรือตั้งข้อกำหนดล่วงหน้าว่าผู้ว่าจ้างควรออกจากงานหรือพักงานแบบไม่มีเงินเดือน จากกรณีที่ผู้ว่าจ้างได้กระทำการสมรส ตั้งครรถ์ คลอดบุตรหรือเลี้ยงดูบุตร และไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการยกเลิกการว่าจ้างงาน (2) กฎหมายว่าด้วยการบริการจัดหางาน (ต่อไปนี้จะเรียกว่ากฎหมายฉบับนี้) มาตรา 73 วรรค 3 และมาตรา 74 กำหนดว่าหาก ความสัมพันธ์ในการว่าจ้างระหว่างนายจ้างและแรงงานข้ามชาติได้ยุติลงแล้ว ควรยกเลิกใบอนุญาตการว่าจ้างงาน และควรมีคำสั่งให้ออกจากประเทศ ไม่สามารถทำงานในประเทศได้อีกต่อไป กฎหมายว่าด้วยการว่าจ้างแรงงานข้ามชาติและมาตรการควบคุมดูแล (ต่อไปนี้เรียกว่า "มาตรการ") มาตรา 45 ข้อที่ 2 กำหนดว่า เมื่อแรงงานครบสัญญาว่าจ้างแล้วได้เดินทางออกกลับประเทศอันเนื่องมาจากใบอนุญาตการว่าจ้างงานหมดอายุ นายจ้างจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานท้องถิ่นให้รับทราบก่อนที่แรงงานข้ามชาติจะเดินทางกลับประเทศ โดยทางหน่วยงานท้องถิ่นจะทำการสำรวจสอบถามความจริงกับแรงงานข้ามชาติ เพื่อตรวจสอบรับรอง (ต่อไปนี้จะเรียกว่ารับรองการยุติสัญญาจ้าง) (3) มาตรา 58 ข้อที่1 และ 2 ของกฎหมายฉบับนี้และมาตรา 20 วรรค 4 ของมาตรการฉบับนี้กำหนดว่า ระหว่างที่ใบอนุญาตทำงานของแรงงานข้ามชาติยังไม่หมดอายุ หากแรงงานข้ามชาติได้เดินทางกลับประเทศอันเป็นเหตุที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบของนายจ้าง นายจ้างสามารถยื่นขอทดแทนคนงานใหม่เพื่อชดเชยแรงงานคนเก่ากับกระทรวงแรงงานได้ กรณีที่แรงงานข้ามชาติเดิมที่นายจ้างได้ว่าจ้างถูกกักขัง มีคดีต้องรับโทษ บาดเจ็บสาเหตุหรือสาเหตุอื่น ๆ ที่นอกเหนือความรับผิดชอบของนายจ้าง เป็นเหตุให้ต้องเลื่อนเวลาเดินทางออกจากไต้หวัน ทั้งนี้หลังตรวจสอบได้รับการอนุมัติจากทางกระทรวงแรงงานแล้ว สามารถที่จะยื่นเรื่องเพื่อขอเข้าแรงงานคนใหม่หรือว่าจ้างแรงงานใหม่ได้ มาตรา 44 ของกฎหมายฉบับนี้กำหนดว่า แรงงานข้ามชาติไม่สามารถพาสมาชิกครอบครัวเข้ามาพำนักในไต้หวันได้ แต่แรงงานข้ามชาติได้ให้กำเนิดบุตรระหว่างที่อยู่ช่วงสัญญาการว่าจ้าง แล้วมีกำลังความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร จะไม่อยู่ในขอบเขตกฎข้อกำหนดที่ว่านี้ (4) มาตรา 59 ของกฎหมายฉบับนี้และมาตรา 11 ของกฎหมายว่าด้วยการบริการจัดหางานกรณีที่คนต่างชาติปฏิบัติงานตามที่ได้รับ อนุญาตตามมาตรา 46 ข้อที่ 1 วรรค 8 ถึง 11 กำหนดว่า เกี่ยวกับขั้นตอนมาตรฐานการขอโอนเปลี่ยนนายจ้างหรือการทำงาน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "มาตรฐานการขอโอนเปลี่ยน") มาตราที่ 11 กำหนดว่า สำหรับแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการอนุมัติให้โอนเปลี่ยนนายจ้างหรืองาน ควรยื่นเรื่องโดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบการโอนเปลี่ยนนายจ้างภายใน 60 วัน แต่ถ้าหากมีกรณีพิเศษแล้วได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกลาง สามารถที่จะขยายเวลายื่นเรื่องการโอนเปลี่ยนไปอีก 60 วัน โดยจำกัดการยื่นเรื่องขอขยายเวลาเพิ่มเพียง 1 ครั้งเท่านั้น 3. เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของนายจ้างและแรงงานข้ามชาติ กรณีที่แรงงานข้ามชาติตั้งครรภ์ระหว่างช่วงสัญญาว่าจ้างและสิทธิในการทำงานของแรงงานข้ามชาติหลังตั้งครรถ์ ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดตามดังต่อข้างล่างต่อไปนี้ : (1) ห้ามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยุติสัญญาว่าจ้างเพียงฝ่ายเดียว: เมื่อแรงงานข้ามชาติมีการตั้งครรภ์ คลอดกำเนิดบุตรเป็นต้น นายจ้างไม่สามารถใช้เหตุผลข้างต้นเป็นข้อแม้ในการยุติสัญญาการว่าจ้างงาน หากนายจ้างบังคับให้ส่งตัวแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ แรงงานข้ามชาติสามารถร้องเรียนโดยทางโทรศัพท์ผ่านสายบริการแรงงาน 1955 หรือร้องเรียนกับรัฐบาลในท้องถิ่น และเมื่อรัฐบาลท้องถิ่นได้รับการร้องขอการรับรองยุติสัญญาจ้างจากนายจ้าง เวลาที่ทำการสอบถามสำรวจความจริงเกี่ยวกับเรื่องการยุติสัญญาการว่าจ้างเพื่อกลับประเทศ ถ้าหากว่าพบมีเหตุการณ์ดังข้างต้น ไม่ควรยินยอมการรับรองยุติสัญญาจ้าง เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ถ้านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายและยุติสัญญาว่าจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นการละเมิดบทบัญญัติมาตรา 54 ข้อที่1 และมาตรา 16 ว่าการละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานอื่น ๆ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการละเมิดบทบัญญัติอย่างรุนแรง ตามข้อบัญญัติกฎหมายฉบับนี้มาตรา 54 และ 72 ควรยกเลิกหรือยุติการออกใบอนุญาตการว่าจ้างดังกล่าว และนายจ้างจะถูกจำกัดพักการยื่นขอเข้าแรงงานข้ามชาติเป็นเวลา 2 ปี (2) แรงงานสามารถยุติการว่าจ้างการโอนเปลี่ยนนายจ้าง: ถ้านายจ้างและลูกจ้างเห็นพร้องตกลงกันที่จะยุติความสัมพันธ์ สัญญาการว่าจ้างหลังกระทรวงแรงงานได้ออกใบอนุมัติยกเลิกใบอนุญาตการว่าจ้าง แรงงานข้ามชาติที่มีการตั้งครรภ์มี เหตุผลว่าด้วยมาตรา 59 ข้อที่ 1 และมาตรา 4 ของกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นสาเหตุที่นอกเหนือความรับผิดชอบ ทาง กระทรวงแรงงานตกลงให้แรงงานข้ามชาติโอนเปลี่ยนนายจ้างหรือเปลี่ยนงาน ทั้งนี้ถ้าหากว่าระหว่างที่โอนเปลี่ยนนายจ้างแรงงานข้ามชาติเกิดเจ็บป่วยไม่สบาย แรงงานข้ามชาติควรขอใบรับรองการวินิจฉัยการตั้งครรภ์หรือคู่มือบันทึกสุขภาพการตั้งครรภ์ที่ออกโดยสถาบันการแพทย์ เพื่อนำมายื่นกับกระทรวงแรงงานใช้เป็นหลักฐานเพื่อระงับการโอนเปลี่ยนนายจ้างชั่วคราวก่อน หลังได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากกระทรวงแรงงานแล้ว ถึงจะสามารถระงับเรื่องการโอนเปลี่ยนนายจ้างชั่วคราวก่อน ทั้งนี้เวลาในการขอระงับการโอนเปลี่ยนนายจ้างนานสุดคือนับตั้งแต่สิ้นสุดการตั้งครรถ์รวมเป็นเวลาทั้งหมด 60 วัน กรณีที่แรงงานข้ามชาติต้องการขอเดินเรื่องโอนเปลี่ยนนายจ้างใหม่ ควรทำการยื่นเรื่องภายใน 10 วันให้แล้วเสร็จก่อนครบเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ตามบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายการปกครองมาตรา 50 กำหนดว่า การยื่นขยายเวลาการโอนเปลี่ยนนายจ้างกับกระทรวงแรงงาน หลังได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแล้ว จะขยายระยะเวลาในการโอนเปลี่ยนนายจ้างเพิ่มให้อีก 60 วัน โดยจำกัดการยื่นเรื่องขอขยายเวลาเพิ่มเพียง 1 ครั้งเท่านั้น กรณีที่ยื่นเรื่องล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดจะไม่อนุมัติเรื่องการขอขยายเวลาการโอนเปลี่ยนนายจ้าง และควรเดินทางออกจากไต้หวันตามที่กฎหมายกำหนด (3) นายจ้างสามารถที่จะว่าจ้างแรงงานข้ามชาติใหม่ได้: เดิมตามบทบัญญัติข้อที่ 58 และกฎระเบียบมาตรา 20 วรรค 1 ฉบับนี้กำหนดว่า แรงงานข้ามชาติมีความประสงค์ที่จะเดินทางออกนอกประเทศหรือเปลี่ยนโอนนายจ้างและหลังมีนายจ้างรายใหม่ตกลงที่จะรับช่วงว่าจ้างต่อแล้ว จึงจะสามารถยื่นเรื่องขอทดแทนแรงงานข้ามชาติหรือนำเข้าคนงานข้ามชาติใหม่ เนื่องจากคำนึงถึงการต้องการคนงานของนายจ้าง กรณีที่แรงงานข้ามชาติต้องขยายเวลาในการเดินทางออกจากไต้หวันทั้งนี้หลังได้รับการอนุมัติตกลงเห็นชอบจากกระทรวงแรงงานแล้ว นายจ้างเดิมถือว่ามีเหตุผลตามกฏหมายฉบับนี้มาตรา 20 วรรค 4 อันเป็นเหตุนอกเหนือความรับผิดชอบของนายจ้างได้ นายจ้างสามารถขอทดแทนหรือว่าจ้างแรงงานคนใหม่ได้ สำหรับนายจ้างที่ประกอบโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ตามกฏหมายบริการจัดหางานคนงานต่างชาติจำนวนแรงงานข้ามชาติต่อจำนวนแรงงานไต้หวันมาตรา 46 ข้อที่ 1 วรรค 8 ถึง 11 เกี่ยวกับกฎระเบียบเงื่อนไขในการพิจารณาคุณสมบัติและมาตรฐานการพิจารณา (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “มาตรฐานการพิจารณา”) มาตราที่ 14 ส่วนที่ 7 ข้อที่ 1 วรรค 4 กำหนด การรวมยอดจำนวนคนงานจะไม่นับรวมจำนวนแรงงานต่างชาติที่ทำงานในนั้นด้วย และจะไม่นับรวมกับจำนวนคนในมาตรฐานการพิจารณามาตราที่ 14 ส่วนที่ 7 ข้อที่ 1 วรรค 2 การจัดหาที่พักพิงให้แก่แรงงานข้ามชาติ : เพื่อปกป้องแรงงานข้ามชาติที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำร้ายของคนอื่น หรือเกิดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ปัญหาอันเกิดจากนายจ้างฝ่าฝืนกฎระเบียบ ฯลฯ จนกลายเป็นปัญหาในการพักพิง กระทรวงแรงงานได้ตั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับกฎหมายการบริการจัดหางานให้แก่ผู้ถูกว่าจ้างที่อยู่ระหว่างสัญญาว่าจ้างตามมาตรา 46 ข้อที่ 1 วรรค 8 ถึง 11 กำหนดเกี่ยวกับสาระสำคัญในการจัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนต่างชาติ สำหรับแรงงานข้ามชาติที่อยู่ระหว่างช่วงสัญญาว่าจ้างถูกต้องตามสาระสำคัญของข้อกำหนดในการจัดหาที่พักพิง จะได้รับการจัดหาที่พักพิงตามที่กฎหมายกำหนด ต้นฉบับส่งถึง: กรมตรวจคนเข้าเมืองกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ, เทศบาลนครไทเป, เทศบาลเมืองเกาสง, เทศบาลเมืองซินเป่ย, เทศบาลเมืองเถาหยวน, เทศบาลเมืองไทจง, เทศบาลเมืองเมืองจีหลง, เทศบาลมณฑลซินจู๋ เทศบาลเมืองซินจู๋, เทศบาลมณฑลเหมี่ยวลี่, เทศบาลมณฑลจางฮว่า เทศบาลมณฑลหยุนหลิน, เทศบาลมณฑลหนานโถว, เทศบาลมณฑลเจียอี้, เทศบาลเมืองเจียอี้, เทศบาลมณฑลไถตง, เทศบาลเมืองไถหนาน, เทศบาลมณฑลเหลียนเจียง, เทศบาลมณฑลเผิงหู, เทศบาลมณฑลอี๋หลาน, เทศบาลมณฑลจินเหมิน, เทศบาลมณฑลฮวาเหลียน, เทศบาลมณฑลผิงตง, สมาคมมุสลิมชาวจีน, สมาคมมัสยิดมุสลิมชาวจีนสาขาเกาสง, สมาคมศูนย์พัฒนาความสามารถอาชีพผู้ชุนฮุย, สมาคมคณะเยสุอิตแห่งไทเปสาขาศูนย์บริการไทเป, มูลนิธิคณะนิกายคริสตจักรคาทอลิกแห่งไต้หวันเพื่อสวัสดิการสังคม (ศูนย์บริการนานาชาติคาทอลิก), สมาคมคณะนิกายคริสตจักรคาทอลิกแห่งไต้หวันสาขาซินจู๋ (ศูนย์ความหวังอาสาคาทอลิก),สมาคมคณะนิกายคริสตจักรคาทอลิกแห่งไต้หวันสาขาซินจู๋ (ศูนย์บริการตรวจคนเข้าเมืองและแรงงานต่างชาติ), สมาคมคณะนิกายคริสตจักรคาทอลิกแห่งไต้หวันสาขาซินจู๋ (สำนักงานบริการแรงงานเวียดนาม) ,คณะนิกายคริสตจักรคาทอลิกโบสถ์ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แห่งไทเป, สมาคมส่งเสริมคุณภาพแรงงานแห่งไต้หวัน, องค์กรสมาคมแรงงานแห่งประเทศไต้หวัน, สมาคมคุ้มครองดูแลสิทธิแรงงานแห่งไต้หวัน, สมาคมสวัสดิการสังคมเพื่อคนไต้หวัน, สมาคมส่งเสริมแรงงานระหว่างประเทศและแรงงานระหว่างเอเชียแปซิฟิก, สมาคมคุ้มครองดูแลสิทธิแรงงานแห่งไต้หวันสาขาจางฮว่า, โบสถ์วิหารเซนต์พอล, สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าอินโดนีเซียประจำกรุงไทเป (ศูนย์ที่พักพิงแรงงานอินโอนีเซีย), สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าอินโดนีเซียประจำกรุงไทเป (ศูนย์ที่พักพิงแรงงานอินโอนีเซียสาขาหยุ้ยฉิ่ง), สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าอินโดนีเซียประจำกรุงไทเป (ศูนย์ที่พักพิงแรงงานอินโอนีเซียสาขาไทจง) สำเนาถึง: สำนักงานผู้ว่ากรมพัฒนาแรงงานกระทรวงแรงงาน, สำนักงานประสานงานกรมพัฒนาแรงงานกระทรวงแรงงาน, ศูนย์ธุรการแรงงานระหว่างประเทศกรมพัฒนาแรงงานกระทรวงแรงงาน, บริษัทสารนิเทศกฎหมายฟาหยวนจำกัด (ระบบสอบถามข้อมูลกฎหมายแรงงาน), หน่วยดูแลแรงงานระหว่างประเทศกรมพัฒนาแรงงานกระทรวงแรงงาน(แผนกที่ 2 และ แผนกที่ 4)